ทางรถไฟสายมรณะ กาญจนบุรี ที่เที่ยวเมืองกาญจนบุรี

5383
รถไฟวิ่งไปตาเส้นทางสายประวัติศาสตร์
รถไฟวิ่งไปตาเส้นทางสายประวัติศาสตร์
Finver Lipmatte ลิป ฟินเวอร์

รถไฟวิ่งไปตาเส้นทางสายประวัติศาสตร์
รถไฟวิ่งไปตาเส้นทางสายประวัติศาสตร์

จังหวัดกาญจนบุรีนั้นเต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมายหลายแห่ง และมีธรรมชาติที่อุดมสมบูร์มากมายหลายแห่ง อย่าง น้ำตก ภูเขา เขื่อนต่างๆ แม่น้ำ และ ิื่นๆอีกมากมาย แต่ กาญจนบุรีไม่ได้มีแค่นั้น ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวิตศาสตร์มากมาย เรียกได้ว่า จังหวัดแห่งนี้มีที่เที่ยวอยู่มากเลยที่เดียว เมื่อมาที่จังหวัดกาญ เราก็ไม่ควรพลาดที่จะมาเยือนที่แห่งนี้ นั้นคือ

“ทางรถไฟสายมรณะ”

ทางรถไฟสายมรณะนั้นมีประวิติศาสตรที่ขื่นขม แต่สองข้างทางของเส้นทางแห่งนี้ไม่ธรรมดาเลย เนื่องจากสร้างไปตามป่าเขา ลัดเลาะไปตามลำน้ำแควน้อย ผ่านธรรมชาติที่สายงามของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เราไม่ควรพลาดเลยเมื่อมาที่จังหวัดกาญจนบุรี

สถานนีถ้ำกระแซ
สถานนีถ้ำกระแซ

ประวัติทางรถไฟสายมรณะ ประเทศไทย – พม่า
เมื่อเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1941 เมื่อเครื่องบินญี่ปุ่นโจมตีเรือรบของสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ในหมาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของยุโรป ในระหว่างที่ญี่ปุ่นโจมตีอย่างรวดเร็วไปยังคาบสมุทรมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และจากนั้นเข้าไปยังพม่า
กองทัพญี่ปุ่นจับทหาร จากประเทศในเครือจักรภพ รวมทั้งชาวดัตช์และอเมริกันเป็นเชลยมากกว่า 200,000 คน ภายในกลางปี ค.ศ. 1942 กองทัพญี่ปุ่นในพม่าต้องอาศัยเสบียงที่ขนส่งมาทางทะเลที่มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีมากขึ้นเรื่อย อีกทั้งมีการรวมตัวของประเทศต่างๆ
ในเครือจักรภพ บริเวณชายแดน อินเดีย – พม่า ญี่ปุ่นจึงเริ่มสร้างทางรถไฟยาว 250 ไมล์ เชื่อมระหว่างประเทศไทยและพม่า ซึ่งช่วยให้ญี่ปุ่นสามารถลำเลียงเสบียงไปยังกองกำลังทหารของตนทางบกได้ ทางรถไฟสายนี้ถูกสร้างโดยเชลยศึกหลายหมื่นคน
ร่วมกับกรรกรจากพม่า ประเทศไทย มาลายา และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ (ปัจจุบันคืออินโดนีเซีย) ซึ่งบางครั้งถูกจ้างใหมาทำงาน แต่ส่วนใหญ่จะถูกบังคับใช้แรงงาน

ลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำแคว
ลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำแคว

ทางรถไฟสายนี้ที่สร้างขึ้นในพื้นที่เสี่ยงอันตราย และสถาพอากาศที่เลวร้าย ด้วยตารางทำงานที่โหดร้ายมาก ช่วงกลาง ปี ค.ศ. 1943 เป็นช่วงเวลาที่เชลยศึกทำงานหนักที่สุด เชลยศึกสัมพันธมิตร มากกว่า 60,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย ดัตช์ และอเมริกา
ทำงานบนเส้นทางรถไฟสายนี้ร่วมกับกรรมกรจากเอเชีย ประมาณ 200,000 คน ซึ่งรู้จักกันในนาม romusha ผู้ชายเหล่านี้สร้างทางรถไฟ ตัดหิน และสร้างสะพานด้วยวัสดุจากป่าไม้ โดยใช้เพียงเครื่องมือที่ดึกดำบรรพ์และความวิริยะของมนุษย์ ตลอดช่วงเวลาของการสร้างทางรถไฟ
ผู้ชายที่ถูทำให้อ่อนแอถูกบังคับให้ทำงานมากเป็นประจำ อย่างไร้ความปราณี คนเหล่านี้ได้รับึวามทุกข์ทรมานจากการขาดอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ การกระทำทารุณกรรม และการใช้ความรุนแรง ภายใต้กำมือของผู้ที่จับตนมาเป็นเชลย

การสร้างทางรถไฟแต่เดิมกำหนดให้สร้างเสร็จปลายปี ค.ศ. 1943 แต่ในเดือนกุมพาพันธ์ ในปีนั้น กองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่นเลื่อนกำหนดการสร้างให้เสร็จเร็วขึ้น 4 เดือน ซึ่งเป็นการเริ่มสิ่งที่รู้จักกันว่าเป็นช่วง เร่งรีบ เมื่อกรรมกรถูกบังคับให้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดฤดูฝน ผลที่ตามมาคือ การระบาดอหิวาตกโรค
กรรมกรได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสจากการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ห่างไกลและยากลำบาก อีกทั้งอยู่ในสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ที่ล้าสมัย ทราบกันว่าเชลยศึกที่เสียชีวิตมีจำนวนมากกว่า 12,000 คน และกรรมาชน romusha เสียชีวิเป็นจำนวนมากถึง 92,000 คน
กว่าจะถึงเวลาที่หัวรถจักรคันแรกเดินทางได้ตั้งแต่ต้นจนสุดสาย ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1943 ได้มีผู้ที่สร้างทางรถไฟเสียชีวิตลงแล้วประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมด

ในอดีตที่มีแต่ความโหด แต่ผ่านมา 70 กว่าปี สะพานแห่งนี้ยังคงใช้งาน และเปิดให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมอยู่จนถึงปัจจุบัน

วิวตลอดเส้นทางรถไฟสายมรณะ

วิวตามเส้นทางรถไฟสายมรณะ
วิวตามเส้นทางรถไฟสายมรณะ
รถไฟวิ่งไปตาเส้นทางสายประวัติศาสตร์
รถไฟวิ่งไปตาเส้นทางสายประวัติศาสตร์
โค้งแม่น้ำแคว
โค้งแม่น้ำแคว
บรรยากาศสองข้างทาง
บรรยากาศสองข้างทาง
แม่น้ำแคว
แม่น้ำแคว

การเดินทางไปทางรถไฟสายมรณะ

รถยนต์

สวนไทรโยค
สวนไทรโยค

จากถนนเส้นหลักเข้าสู่ตัวเมืองกาญจน์ วิ่งตรงไปตามถนนถนนแสงชูโต แล้วเลี้ยวเข้า ถนนหมายเลข 3329 ไปถึงแยกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า แล้วเลี้ยวเข้าถนนหมายเลข 3455 ผ่านอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ ตรงไปตรงถนนหมายเลย 4032 จะเห็นสวนไทรโยครีสอร์ท Adventure Park และสถานนีถ้ำกระแซ

รถไฟ
ผู้ที่ต้องการโดยสารรถไฟจากกรุงเทพ ขึ้นได้ที่สถานีธนบุรี เขตบางกอกน้อย (บริเวณตลาดรถไฟ ด้านหลังโรงพยาบาลศิริราช) เดินรถทุกวัน มีสองขบวนคือเที่ยวไป ออกจากสถานีธนบุรี 7.45 น. และ 13.35 น. (ถึงสถานีกาญจนบุรี 10.55 น. และ 16.26 น.)

เที่ยวกลับ ผ่านสถานีสะพานแม่น้ำแควเวลา 7.12 น. และ 14.36 น. (ถึงสถานีธนบุรี 10.10 น. และ 17.35 น.)

รถไฟสายน้ำตก
รถไฟสายน้ำตก

มีรถไฟนำเที่ยวพิเศษ
สำหรับเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีรถไฟนำเที่ยวพิเศษ ขึ้นได้ที่สถานีหัวลำโพง ค่าโดยสารตลอดทริป (* เป็นรถไฟขบวนพิเศษนำเที่ยวนำเที่ยวน้ำตก ขบวน 909)

ดูรีวิวรถไฟนำเที่ยวพิเศษ –> http://goo.gl/raaNHQ

ติดตามและให้กำลังใจเราได้ที่ ^__^
Fan Page : https://goo.gl/xvMCZ4
Website : https://www.tripth.com/

ภาพและข้อมูลโดย www.tripTH.com

เรียบเรียงโดย Admin tripTH.com