สุสานแห่งนี้เป็นสถานที่สุดท้ายของเชลยซึก จากปะเทศในเครือจักรภพ
มากกว่า 5000 คน และเชลยศึกชาวดัตช์เกือบ 1900 คน ผู้ซึ่งเสียชีวิตในขณะถูกบังคับใช้แรงงานเป็นกรรมกร สร้างเส้นทางรถไฟสายประเทศไทย ไปประเทศพม่า
สุสานแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ตำบล ท่ามะขาม อำเภอเมืองกาญจนบุรี
สุสานแห่งนี้อยู่ไม่ไกลจากค่ายเชลยศึกเดิม ซึ่งรู้จักกันในหมู่เชลยศึกว่า กาญจน์บุรี สุสานแห้งนี้ตั้งอยู่ใกล้ต้นสายทางรถไฟเป็นพื้นที่พักรอสำหรับผู้ที่จะย้ายไปทำงานที่ค่ายแนวหน้า ซึ่งหลายคนต้องเดินท้าวเป็นเวลาหลายวันก่อนที่จะเดินถึงค่ายทำงานของตน
ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1943 ได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลของฐานทัพขึ้นสำหรับกองทัพ F และ H ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากที่นี่ กลุ่มแรงงานส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยทหารชาวอังกฤษและออสเตรเลียที่ถูกจับเป็นเชลยที่สิงคโปร์
สุสานนี้ออกแบบโดย คอลิน เซนต์ แคลร์ อ๊คส์ และถูกสร้างขึ้นหลังสงคราม ผู้ชายที่เหลือประมาณ 800 คนที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลต่างๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและศพถูกฝัง ไว้ในสุสานจีนที่ตตั้งอยู่กับโรงพบาลถูกขุดขึ้นมาและย้ายมาฝังไว้ที่นี่ หน่วยสุสานทหารบก
ได้ดำเนินการย้ายศพจากที่ฝังศพของค่ายต่างๆ ที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวตลอดเส้นทางรถไฟช่วงล่างทางตอนใต้ จากกรุงเทพฯ ไปสถานที่อื่น ในประเทศไทย อนุสาวรีย์พิเศษระลึกถึงผู้ชายที่มีรายนามจารึกไว้ 300 คน ซึ่งศพได้ถูกนำไปเผาหลังจากที่เสียชีวิตจากโรคภัยต่างๆ
อนุสาวรีย์กาญจนบุรี ระลึกถึงทหารบก 11 นาย จากประเทศอินเดีย ที่ยังไม่ได้แบ่งแยกดินแดน ศพของทหารเหล่านี้ถูกฝังไว้ที่สุสานมุสลิมในพื้นที่ชนบทของประเทศไทย แต่หลุมศพของพวกเขาไม่สามารถได้รับการบำรุงรักษาได้ อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
ซึ่งอยู่ห่างจากที่นี่ประมาณ 4 กิโลเมตร มีสุสานสัมพันธมิตรช่องไก่ ซึ่งเป็นสถานที่สุดท้ายของเชลยศึกจำนวนประมาณ 1700 คน
ทางรถไฟสายประเทศไทย – พม่า
เมื่อเดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1941 เมื่อเครื่องบินญี่ปุ่นโจมตีเรือรบของสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ในหมาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของยุโรป ในระหว่างที่ญี่ปุ่นโจมตีอย่างรวดเร็วไปยังคาบสมุทรมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และจากนั้นเข้าไปยังพม่า
กองทัพญี่ปุ่นจับทหาร จากประเทศในเครือจักรภพ รวมทั้งชาวดัตช์และอเมริกันเป็นเชลยมากกว่า 200,000 คน ภายในกลางปี ค.ศ. 1942 กองทัพญี่ปุ่นในพม่าต้องอาศัยเสบียงที่ขนส่งมาทางทะเลที่มีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีมากขึ้นเรื่อย อีกทั้งมีการรวมตัวของประเทศต่างๆ
ในเครือจักรภพ บริเวณชายแดน อินเดีย – พม่า ญี่ปุ่นจึงเริ่มสร้างทางรถไฟยาว 250 ไมล์ เชื่อมระหว่างประเทศไทยและพม่า ซึ่งช่วยให้ญี่ปุ่นสามารถลำเลียงเสบียงไปยังกองกำลังทหารของตนทางบกได้ ทางรถไฟสายนี้ถูกสร้างโดยเชลยศึกหลายหมื่นคน
ร่วมกับกรรกรจากพม่า ประเทศไทย มาลายา และหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์ (ปัจจุบันคืออินโดนีเซีย) ซึ่งบางครั้งถูกจ้างใหมาทำงาน แต่ส่วนใหญ่จะถูกบังคับใช้แรงงาน
ทางรถไฟสายนี้ที่สร้างขึ้นในพื้นที่เสี่ยงอันตราย และสถาพอากาศที่เลวร้าย ด้วยตารางทำงานที่โหดร้ายมาก ช่วงกลาง ปี ค.ศ. 1943 เป็นช่วงเวลาที่เชลยศึกทำงานหนักที่สุด เชลยศึกสัมพันธมิตร มากกว่า 60,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอังกฤษ ออสเตรเลีย ดัตช์ และอเมริกา
ทำงานบนเส้นทางรถไฟสายนี้ร่วมกับกรรมกรจากเอเชีย ประมาณ 200,000 คน ซึ่งรู้จักกันในนาม romusha ผู้ชายเหล่านี้สร้างทางรถไฟ ตัดหิน และสร้างสะพานด้วยวัสดุจากป่าไม้ โดยใช้เพียงเครื่องมือที่ดึกดำบรรพ์และความวิริยะของมนุษย์ ตลอดช่วงเวลาของการสร้างทางรถไฟ
ผู้ชายที่ถูทำให้อ่อนแอถูกบังคับให้ทำงานมากเป็นประจำ อย่างไร้ความปราณี คนเหล่านี้ได้รับึวามทุกข์ทรมานจากการขาดอาหาร โรคภัยไข้เจ็บ การกระทำทารุณกรรม และการใช้ความรุนแรง ภายใต้กำมือของผู้ที่จับตนมาเป็นเชลย
การสร้างทางรถไฟแต่เดิมกำหนดให้สร้างเสร็จปลายปี ค.ศ. 1943 แต่ในเดือนกุมพาพันธ์ ในปีนั้น กองบัญชาการกองทัพญี่ปุ่นเลื่อนกำหนดการสร้างให้เสร็จเร็วขึ้น 4 เดือน ซึ่งเป็นการเริ่มสิ่งที่รู้จักกันว่าเป็นช่วง เร่งรีบ เมื่อกรรมกรถูกบังคับให้ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ตลอดฤดูฝน ผลที่ตามมาคือ การระบาดอหิวาตกโรค
กรรมกรได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสจากการทำงานในสภาพแวดล้อมที่ห่างไกลและยากลำบาก อีกทั้งอยู่ในสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ที่ล้าสมัย ทราบกันว่าเชลยศึกที่เสียชีวิตมีจำนวนมากกว่า 12,000 คน และกรรมาชน romusha เสียชีวิเป็นจำนวนมากถึง 92,000 คน
กว่าจะถึงเวลาที่หัวรถจักรคันแรกเดินทางได้ตั้งแต่ต้นจนสุดสาย ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 1943 ได้มีผู้ที่สร้างทางรถไฟเสียชีวิตลงแล้วประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมด
การเดินทางไปสะพานข้ามแม่น้ำแคว
รถยนต์
จากถนนเส้นหลักเข้าสู่ตัวเมืองกาญจน์ วิ่งตรงไปตามถนนถนนแสงชูโต จะเห็นสุสานพันธมิตรเลย
รถไฟ
ผู้ที่ต้องการโดยสารรถไฟจากกรุงเทพ ขึ้นได้ที่สถานีธนบุรี เขตบางกอกน้อย (บริเวณตลาดรถไฟ ด้านหลังโรงพยาบาลศิริราช) เดินรถทุกวัน มีสองขบวนคือเที่ยวไป ออกจากสถานีธนบุรี 7.45 น. และ 13.35 น. (ถึงสถานีกาญจนบุรี 10.55 น. และ 16.26 น.)
เที่ยวกลับ ผ่านสถานีสะพานแม่น้ำแควเวลา 7.12 น. และ 14.36 น. (ถึงสถานีธนบุรี 10.10 น. และ 17.35 น.)
มีรถไฟนำเที่ยวพิเศษ
สำหรับเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีรถไฟนำเที่ยวพิเศษ ขึ้นได้ที่สถานีหัวลำโพง ค่าโดยสารตลอดทริป (* เป็นรถไฟขบวนพิเศษนำเที่ยวนำเที่ยวน้ำตก ขบวน 909)
ดูรีวิวรถไฟนำเที่ยวพิเศษ –> http://goo.gl/raaNHQ
ติดตามและให้กำลังใจเราได้ที่ ^__^
Fan Page : https://goo.gl/xvMCZ4
Website : https://www.tripth.com/
ภาพและข้อมูลโดย www.tripTH.com
เรียบเรียงโดย Admin tripTH.com