สะพานข้ามแม่น้ำแคว กาญจนบุรี สะพานแห่งประวัติศาสตร์กาญจนบุรี

4923
สะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานข้ามแม่น้ำแคว
Finver Lipmatte ลิป ฟินเวอร์

สะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานข้ามแม่น้ำแคว

สะพานข้ามแม่น้ำแคว ตั้งอยู่ในตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นสะพานที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน

ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ประวัติสะพานข้ามแม่น้ำแคว ก่อสร้างในช่วงสงครามมหารเอชียบูรพา (The Great Pacific War)
ที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ สงครามได้ต่อเนื่องเข้าสู่ สงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 และเสร็จในเดือนตุลาคม พ.ศ.2486

โดยกองทัพญี่ปุ่นขอทำสัญญาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์จากประเทศไทยไปสู่ประเทศพม่า เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2485 โดยเริ่มจากแยกทางรถไฟสายใต้ ที่สถานีหนองปลาดุก ห่างสถานีรถไฟบ้านโป่ง 5 กิโลเมตร และวางรางรถไฟข้ามลำน้ำแควใหญ่ที่บ้านท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี (สมัยนั้นเรียกบริเวณนี้ว่าบ้านท่าม้าข้าม) ผ่านตัวเมืองกาญจนบุรีขึ้นไปทางเหนือเลียบแม่น้ำแควใหญ่ ประมาณ 5 กิโลเมตร แล้วกลับมาเลียบลำน้ำแควน้อยผ่านเขตแดนประเทศไทย – พม่า ที่ด่านเจดีย์สามองค์ ขเาไปยังประเทศพม่าบรรจบกับทางรถไฟพม่า ที่สถานีธันบูชายัค (Thanbyuzayat) รวมระยะทาง 415 กิโลเมตร เป็นระยะทางในประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร อยู่ในประเทศพม่า 111.05 กิโลเมตร โดยใช้แรงงานเชลยศึกที่กวาดต้อนมาจากมลายู สิงคโปค์ ชวา และประเทศแถบแปซิฟิก

สะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานข้ามแม่น้ำแคว

และนำเชลยศึกทั้งหมดขึ้นรถไฟสายใต้ลงมาที่สถานีรถไฟบ้านโป่ง แล้วเดินเท้าอีกระยะทาง 51 กิโลเมตร มายังจังหวัดกาญจนบุรี

การก่อสร้าทางรถไฟแห่งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องผ่านความทุรกันดาร ขุนเขาที่สูงชัน และป่ารกทึบ เต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด และไข้มาเลเรียอันร้ายแรงบางแห่งต้องทำสะพานข้ามน้ำลึกและเชี่ยวกราก ที่ยากลำบากที่สุดก็คือ สะพานข้ามลำน้ำแควใหญ่

จากการรีบเร่งก่อสร้างทางรถไฟทั้งกลางวันและกลางคืน ความอดอยากหิวโหย โรคระบาด อีกทั้งไข้มาเลเรียที่รุมเร้า และความโหดร้ายหฤโหดของสงคราม ทำให้เชลยศึกและกรรมกรต้องล้มตายอย่างอเนจอนาถกว่า 100,000 คน จนเป็นที่มาของชื่อ “ทางรถไฟสายมรณะ”

สะพานข้ามแม่น้ำแคว
สะพานข้ามแม่น้ำแคว

กองทัพญี่ปุ่นเลือกสร้างสะพานข้ามลำน้ำแควใหญ่ที่บริเวณบ้านท่ามะขามแห่งนี้ เนื่องจากพื้นที่ดินด้านล่างมีความหนาแน่นเหมาะในการสร้างสะพานอย่างที่สุด เพื่อเป็นการเร่งรัดงานก่อสร้าง มหารช่างญี่ปุ่นได้สร้างสะพานไม้ไว้ข้ามชั่วคราวโดยใช้ไม้ซุงทั้งต้นตอกเป็นเสาเข็ม ด้านท้ายน้ำห่างจากสะพานปัจจุบันลงไปทางใต้ประมาณ 100 เมตร เพื่อลำเลียงคนและวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างทางรถไฟข้ามไปก่อนใช้เวลาก่อสร้าง 3 เดือน ส่วนสะพานปัจจุบันนำเหล็กจากชวามาประกอบเป็นชิ้น ตอนกลางทำเป็นเหล็ก 11 ช่วง ช่วงอื่นๆ เป็นสะพานไม้

ด้านบนสะพานข้ามแม่น้ำแคว
ด้านบนสะพานข้ามแม่น้ำแคว

ตัวสะพานยาวประมาณ 300 เมตร ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 6 เดือน สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดเป็นทางรถไฟทั้งเส้น 415 กิโลเมตร อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 ส่วนสะพานไม้ชั่วคราวได้รื้อถอนออกไปเพราะขวางการสัญจรทางน้ำ

ในระหว่างสงคราม สะพานข้ามแม่น้ำแควถูกทหารสัมพันธมิตรปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ถูกทิ้งระเบิดอย่างหนัก จนกระทั้งญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2488 สะพานช่วงที่ 4 – 6 ชำรุด ไม่สามารถใช้การได้ เมื่อสงครามสงบลงแล้ว รัฐบาลอังกฤษขายทางรถไฟ รวมทั้งส่วนประกอบของกิจการรถไฟให้กับไทย เป็นเงิน 50 ล้านบาท ต่อมาการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงสร้างเป็นสะพานเหล็ก 2 ช่วง แทนของเดิมและเปลี่ยนช่วงสะพานไม้ด้านปลายทางเป็นสะพานเหล็ก 6 ช่วงด้วย
และอยู่ใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน

ที่สะพานข้ามแม่น้ำแควมีบริการรถราง Fairmong ทุกวัน โดยวันธรรมดาจะมี

ตั้งแต่เวลา 08.00-19.30 น., 11.20-14.00 น., 15.00-16.00 น.,

และ 18.00-18.30 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-09.30 น., 11.20-14.00 น.,

และ18.00-18.30 น. ค่าโดยสารคนละ 20 บาท

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 3451 1200, 0 3451 2500

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย

โทร. 1690 หรือ 0 2621 8701-9 หรือ www.railway.co.th

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว (Light and Sound)

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแควจัดในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการ สร้างทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดง นิทรรศการในทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียง บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว

การเดินทางไปสะพานข้ามแม่น้ำแคว

รถยนต์
– จากถนนเส้นหลักเข้าสู่ตัวเมืองกาญจน์ วิ่งตรงไปตามถนนถนนแสงชูโต ผ่านสุสานพันธมิตร ก่อนข้ามทางรถไฟ มีป้ายบอกทางเข้าไปสะพานข้ามแม่น้ำแคว (ทางเข้าอยู่ก่อนข้ามทางรถไฟ แต่ถ้าเลยไปก็เข้าซอยริมทางรถไฟได้ มีถนนเชื่อมถึงกัน) วิ่งตรงไปมีทางจอดรถทางซ้ายมือ สามารถจอดรถได้หลายคัน ทั้งรถยนต์และรถบัส ไม่เสียค่าจอดรถ (สะพานข้ามแม่น้ำแควเดินจากที่จอดรถไปประมาณ 5 นาที)

ลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำแคว
ลัดเลาะไปตามริมแม่น้ำแคว

รถไฟ
ผู้ที่ต้องการโดยสารรถไฟจากกรุงเทพ ขึ้นได้ที่สถานีธนบุรี เขตบางกอกน้อย (บริเวณตลาดรถไฟ ด้านหลังโรงพยาบาลศิริราช) เดินรถทุกวัน มีสองขบวนคือเที่ยวไป ออกจากสถานีธนบุรี 7.45 น. และ 13.35 น. (ถึงสะพานแม่น้ำแคว 10.55 น. และ 16.26 น.)

เที่ยวกลับ ผ่านสถานีสะพานแม่น้ำแควเวลา 7.12 น. และ 14.36 น. (ถึงสถานีธนบุรี 10.10 น. และ 17.35 น.)

รถไฟสายน้ำตก
รถไฟสายน้ำตก

มีรถไฟนำเที่ยวพิเศษ
สำหรับเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีรถไฟนำเที่ยวพิเศษ ขึ้นได้ที่สถานีหัวลำโพง ค่าโดยสารตลอดทริป (* เป็นรถไฟขบวนพิเศษนำเที่ยวนำเที่ยวน้ำตก ขบวน 909)

ดูรีวิวรถไฟนำเที่ยวพิเศษ –> http://goo.gl/raaNHQ

 

ติดตามและให้กำลังใจเราได้ที่ ^__^
Fan Page : https://goo.gl/xvMCZ4
Website : https://www.tripth.com/

ข้อมูบางส่วนจาก http://www.kanchanaburi.go.th/

ภาพและข้อมูลโดย www.tripth.com

เรียบเรียงโดย Admin Tripth.com